453 จำนวนผู้เข้าชม |
วันนี้เรามาลองทำความรู้จักกับการบรรจุกันนะครับ ว่าเรามีทางเลือกอะไรบ้างในการบรรจุเบียร์ Homebrew นะครับ
ถัง Cornelius ถูกใช้เป็นตัวหลักของการทำเบียร์ที่บ้านมากว่า 50 ปี และได้กลายเป็นมาตรฐานสำหรับผู้ผลิตเบียร์ Homebrew ที่ต้องการใช้ก๊อกแท็ปในการเสิร์ฟเบียร์เองที่บ้าน Cornelius หรือ “Corny” ถังต่างๆ หายากขึ้นเรื่อยๆ และราคามีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น ถังใหม่มีราคามากกว่า $100 ด้วยเหตุนี้ Homebrew บางรายจึงเริ่มมองหาทางเลือกอื่นในการบรรจุภัณฑ์มากขึ้น
CORNY KEGS
ถัง Cornelius ได้รับการออกแบบมาเพื่อเสิร์ฟน้ำอัดลม เดิมทีผลิตโดย Cornelius, Inc. จึงเป็นที่มาของชื่อบรรจุภัณฑ์นั่นเอง ถังถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยบริษัท Coca-Cola ในปี 1957 สำหรับการเสิร์ฟโค้กผสมสำเร็จ และในเวลาต่อมาบริษัท Firestone/Spartanburg ก็เริ่มผลิตถังโซดาที่เทียบเคียงได้ (ซึ่งบริษัทเหล่านี้
ไม่ได้ผลิตถัง Corny อีกต่อไปแล้ว) แต่ปัจจุบันมีผู้ผลิตเฉพาะทาง เช่น AEB Italy ที่ยังคงผลิตถังสแตนเลส Corny ใหม่ๆ อยู่
ถัง Corny ก็ถูกนำมาใช้โดย Pepsi เช่นกัน แต่ต่อมาไม่นาน เป๊ปซี่ก็ได้เปิดตัว
“Bag-in-a-box” ถุงไซรัป โดยไซรัปจะผสมกับน้ำที่มีความซ่าส์ เพื่อสร้างน้ำอัดลมที่จุดนั้น Bag-in-a-box มีการออกแบบกล่องที่ใช้พื้นที่น้อยกว่าถัง Corny และบรรจุภัณฑ์มีราคาถูกกว่า ดังนั้นผู้ผลิตน้ำอัดลมจึงเริ่มเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์แบบ Bag-in-a-box กันมากขึ้น แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นข้ามคืน และด้วยความแพร่หลายของน้ำอัดลมในสังคมของเราที่มีถังที่ใช้แล้วส่วนเกินเป็นจำนวนมาก จึงเริ่มขายให้กับผู้ผลิตเบียร์ Homebrew ในราคาที่สมเหตุสมผลในช่วงปี 1980 และต่อๆ ไป
มีประเภทถัง Corny ที่หลากหลาย และขนาดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือขนาด 5 แกลลอน (19 ลิตร) และถังขนาด 3 แกลลอน (11 ลิตร) กับขนาด 10 แกลลอน (38 ลิตร) และถังขนาด 2.5 แกลลอน (9.5 ลิตร) ก็หาได้ไม่ยาก ถังส่วนใหญ่ทำจกสแตนเลส 304
ถังโค้กถูกติดตั้งด้วยขั้วต่อแบบสลักล็อค (Pin Lock) ทั้งทางก๊าซเข้า และทางของเหลวออก ส่วนถังของ Pepsi จะเป็นขั้วต่อแบบบอลล็อค (Ball Lock) และถังเหล่านี้ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นจากผู้ผลิตเบียร์ Homebrew
ความแตกต่างกันเล็กน้อยในถังที่ทำโดย Cornelius และถังที่ผลิตโดย Firestone/Spartanburg ถัง Cornelius มีเกลียวขนาด 19/32 นิ้ว ในขณะที่ถัง Firestone/Spartanburg มีเกลียวขนาด 9/16 นิ้ว หากได้รับการดูแลอย่างดี ถัง Cornelius จะคงอยู่ต่อไปค่อนข้างไม่มีกำหนด โชคดีที่การบำรุงรักษาเป็นเรื่องง่าย เมื่อเราต้องการเปลี่ยนปะเก็นบนฝา และเกลียว มีราคาไม่แพง (และยังหาได้ไม่ยาก)
BOTTLE CONDITIONING
การบรรจุขวดเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เบียร์ 1 ถังปริมาณ 5 แกลลอน (19 ลิตร) บรรจุในขวด 12 ออนซ์ ได้ประมาณ 53 ขวด สิ่งที่ต้องเจอคือการบรรจุ และการปิดฝาจำนวนมาก แต่ถ้าใช้ขวดฝาสวิงขนาด 1 ลิตร ของ WAS Homebrew ก็จะใช้เพียง 19 ขวด โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องปิดฝาอีกด้วย หรือการใช้ขวดน้ำอัดลมขนาดใหญ่ ขนาด 3 ลิตร ก็จะบรรจุแค่ 6 ขวด และฝาเกลียวก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ อีกด้วย
แต่ข้อเสียประการหนึ่งก็คือ ขวด PET ส่วนใหญ่สีไม่เข้มพอที่จะปกป้องเบียร์จากแสง UV ได้ ดังนั้นจึงต้องเก็บไว้ในที่มืดเพียงพอเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของเบียร์จากแสง UV ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เบียร์เกิดกลิ่น "สกั๊งค์ ได้
CASK CONDITIONED BEER
การบรรจุถังไม้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเก็บเบียร์ แบบ Pins จุได้ 5.4 แกลลอน (20 ลิตร) และแบบ firkins จุได้ 11 แกลลอน (41 ลิตร) สำหรับแบทช์ขนาด 5 หรือ 10 แกลลอน เราจะมีภาชนะที่ต้องบรรจุเพียงใบเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ถังส่วนใหญ่ใช้สำหรับเบียร์เอลสไตล์อังกฤษ ที่มีคาร์บอนไดออกไซด์เล็กน้อย ดังนั้นจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ผลิตเบียร์ลาเกอร์ หรือผู้ผลิตเบียร์ Homebrew ที่มักจะทำเบียร์เอลสไตล์ Brewpub.
PRESSURIZED GROWLERS
ถังเก็บเบียร์แบบมีแรงดัน
ส่วนใหญ่มีขนาดตั้งแต่ 64 ออนซ์ (1.9 ลิตร) ถึง 1.3 แกลลอน (4.9 ลิตร) เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่ต้องการพกเบียร์จำนวนไม่มากไปยังสถานที่นัดหมาย ส่วนมากจะแก๊ส Co2 แบบหลอดขนาด 12 g, 16 g หรือ 25 g เสียบกับ Mini Regulator แล้วปรับแรงดันแก๊สให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับการจ่ายเบียร์ มีราคาแพงกว่าตัวเลือกอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับถัง Corny ที่มีการออกแบบให้มีความแข็งแรงทนทาน สามารถมีอายุการใช้งานได้ไม่จำกัด ด้วยการทำความสะอาดที่เหมาะสม และการบำรุงรักษาตามระยะเล็กน้อ
PET KEGS
บริษัทในออสเตรเลียชื่อ Kegland ปัจจุบันผลิตถังพลาสติก PET ที่ใช้มาตรฐานแบบบอลล็อคฝั่งก๊าซ และอุปกรณ์จ่ายเบียร์ Kegland ผลิตถังพลาสติก PET สีส้มขนาด 5.2 แกลลอน (20 ลิตร) และ 2.1 แกลลอน (8.0 ลิตร) พลาสติกโปร่งใส เราจึงมองเห็นเบียร์ในถังได้ อย่างไรก็ตาม มีการป้องกันรังสียูวีอยู่บ้าง โดยบริษัทแจ้งว่าอัตราการซึมผ่านของออกซิเจนผ่านพลาสติกต่ำกว่าขวดน้ำอัดลม PET มาตรฐาน และเนื่องจากข้อต่อไม่ได้ถูกปิดผนึกด้วยปะเก็นยาง จึงมีออกซิเจนไหลผ่านข้อต่อและฝาปิดน้อยลง
ถังมาพร้อมกับท่อจุ่มแบบลอย ดังนั้นเบียร์จึงถูกดึงออกมาจากผิวน้ำ ทำให้เราสามารถ "หมักเบียร์ต่อในถังได้" และจ่ายเบียร์ได้โดยไม่มีปัญหาจากตะกอนได้จนหยดสุดท้าย และแน่นอน เนื่องจากถังเก็บแรงดันได้มากกว่า 100 PSI
เราสามารถทำคาร์บอเนตโดยใช้ขั้นตอนเดียวกันกับการทำคาร์บอเนตเช่นเดียวกับที่ทำในสเตนเลส ถังเหล็ก Corny ถัง PET ยังมีราคาถูกกว่าถัง Cornelius ที่ใช้แล้ว ซึ่งมักจะน้อยกว่า 40 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับถังขนาด 5.2 แกลลอน (20-ลิตร)
โดยปกติ ถัง PET KEG ได้รับการออกแบบสำหรับการใช้งานครั้งเดียว การใช้งานในการจ่ายเครื่องดื่มเชิงพาณิชย์ Kegland แจ้งว่าเราสามารถใช้ถังซ้ำได้ตราบใดที่เราทดสอบด้วยแรงดันทุกๆ สองปี แต่ถังเชิงพาณิชย์ที่มีไว้สำหรับใช้ครั้งเดียวก็ควรใช้เพียงครั้งเดียว ใช้ด้วยความระมัดระวัง ถัง PET จะมีอายุการใช้งานไม่นานเท่ากับ ถัง Corny และไม่ว่าผลการทดสอบแรงดันจะเป็นอย่างไร เราได้พิจารณาแล้วว่าการนำถังแบบใช้ครั้งเดียวกลับมาใช้ซ้ำอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงได้
เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับตัวเลือกภาชนะในการบรรจุเบียร์ มีหลากหลายรูปแบบเลยใช่ไหมครับ แล้วเพื่อนๆ ชอบใช้ภาชนะแบบไหนในการบรรจุเบียร์ของตัวเองกันครับ แชร์ให้เรารู้หน่อยนะครับ สำหรับวันนี้ก็ขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่คราวหน้าครับผม สวัสดีครับ